ภาวะนมแฝด แก้ไขหน้าอกให้กลับมาสวยได้
นมแฝดคืออะไร?
ภาวะนมแฝด (Symmastia) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- Congenital คือ ผู้ที่มีเนื้อบริเวณกลางหน้าอกชนกันเยอะมาตั้งแต่กำเนิด ไม่ว่าจะเสริมหน้าอกในรูปแบบใด หน้าอกก็จะออกมาค่อนข้างชิด จะไม่เห็นร่องตรงกลางอก ไม่ควรเสริมหน้าอกที่ขนาดใหญ่ เพราะจะยิ่งเห็นชัดกว่าเดิม
- Acquired คือ ภาวะนมแฝ ดที่เกิดขึ้นหลังผ่าตัดเสริมหน้าอก เกิดจากถุงเต้านมเทียมทั้งสองข้างมีลักษณะชิดกันมากเกินไป หน้าอกชิดติดกัน อันเนื่องจากทำการเลาะโพรงใส่ซิลิโคนด้านในชิดกันเกินไป ส่งผลให้หัวนมชี้ออกด้านข้าง หน้าอกไม่มีร่องตรงกลาง อกรวมเป็นหนึ่งอันเดียวกัน ถ้าไม่ทำการแก้ไข โพรงอาจจะทะลุถึงกันได้
ภาพจำลองภาวะนมแฝด
การเสริมหน้าอกใต้กล้ามเนื้อ เป็นวิธีป้องกันภาวะนมแฝ ดอีกทางหนึ่ง เนื่องจากเวลาแพทย์ใส่ซิลิโคนใต้กล้ามเนื้อ จะใส่ใต้กล้ามเนื้อที่ชื่อว่า “Pectoral Muscle” ซึ่งกล้ามเนื้อนี้จะเกาะที่ขอบนอกของกระดูดสันอก (Sternum) ซิลิโคนจะไม่ไหลเกินจุดเกาะ ดังนั้นเต้านมจะไม่ชิดกันแน่นอน เพราะมีกล้ามเนื้อล็อคไว้ไม่ให้ชิดกัน เว้นแต่ในกรณีที่ใส่ซิลิโคนเหนือกล้ามเนื้อ จะไม่มีกล้ามเนื้อกลั่นกลาง ไม่มีตัวล็อคซิลิโคน ส่งผลให้โพรงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ ซิลิโคนดันเข้าหากันจนกล้ายเป็นนมแฝดได้
ภาพจำลองกระดูดสันอก (Sternum)
ภาพตัวอย่างภาวะ นมแฝด
ภาพตัวอย่างภาวะนมแฝ ดประเภท Congenital
ภาพตัวอย่างภาวะ นมแฝดประเภท Acquired
สาเหตุการเกิดนมแฝด
สาเหตุการเกิดนมแฝด โดยหลัก ๆ แล้วมี 3 ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ
- การผ่าตัดของแพทย์ เช่น แพทย์เลาะโพรงใส่ซิลิโคนชิดกันเกินไป เลาะไม่ดี ทำให้กล้ามเนื้อด้านในฉีก ส่งผลให้ซิลิโคนไหลเข้าหากัน
- เลือกใส่ซิลิโคนที่มีขนาดใหญ่กว่าฐานหน้าอกจริง
- สรีระของคนไข้ ที่บางคนมีเนื้อบริเวณกระดูกหน้าอกเยอะมาตั้งแต่กำเนิด
นอกจากสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดนมแฝดได้ เช่น การใส่ซิลิโคนเหนือกล้ามเนื้อ เนื้อเยื้อเสียความยืดหยุ่น การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดของคนไข้ การบีบนวดหน้าอกมากเกินไป การดันซิลิโคนเข้าไปตรงกลางอก หรือบางคนร้องขอให้หมอผ่าตัดใส่ซิลิโคนชิดกันมาก ๆ เพราะเข้าใจผิดคิดว่าหน้าอกจะออกมาสวยงาม ซึ่งนั่นเป็นความคิดที่ผิด เป็นการเพิ่มความเสี่ยงแก่ตนเอง ตามหลักการแล้ว ควรกำหนดการวางซิลิโคนให้ห่างจากเส้น Midline (กลางหน้าอก) ประมาน 1 เซนติเมตรขึ้นไปในแต่ละข้าง เพราะฉะนั้น ระยะห่างของหน้าอกจะอยู่ที่ประมาน 3 เซนติเมตร ซึ่งเป็นระยะที่กำลังดี ไม่ก่อให้เกิดภาวะหน้าอกชิดหรือนมแฝด
วิธีลดความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดภาวะ นมแฝด
- เลือกแพทย์ที่มีประสบการณ์หรือคลินิกที่มีความน่าเชื่อถือ (สามารถตรวจสอบได้จากสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย)
- ไม่ฝืนใส่ซิลิโคนที่มีขนาดใหญ่จนเกินไป
- ใส่ซิลิโคนใต้กล้ามเนื้อ
- ไม่ทำการนวดหน้าอกที่รุนแรง
- ตรวจเช็คหน้าอกอย่างสม่ำเสมอ จากศัลยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด
วิธีการแก้ไข
การแก้ไขนมแฝดนั้นแก้ไขยาก มีขั้นตอนที่ซับซ้อน แต่สามารถแก้ไขได้โดย
- ผ่าตัดเพื่อนำซิลิโคนเดิมออก (บางรายสามารถเสริมเข้าไปใหม่ได้ทันที แต่ในบางรายต้องพักร่างกายและเสริมใหม่ในภายหลัง)
- ทำฉากกั้นผนังตรงกลางใหม่ โดยอาจจะใช้กล้ามเนื้อ หรือเนื้อเยื้อเทียมบางส่วนมากั้นระหว่างเต้านมทั้งสองข้าง
- แก้ทรงหน้าอกที่เกิดจากการเลาะโพรงที่ไม่ได้รูป โดยการเลาะโพรงใหม่
- ปรับแต่งหัวนมใหม่ แก้ไขดึงหัวนมที่อยู่ต่ำหรือสูงเกินไปให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
- หลังการผ่าตัดต้องใส่ยกทรงพิเศษเพื่อป้องกันการเคลื่อนที่ของซิลิโคน
ตัวอย่างยกทรงพิเศษป้องกันนมแฝด (ภาพจาก google)
ตัวอย่างการแก้นมแฝด ที่ เดอะซิบส์ คลินิก
ภาพตัวอย่างแก้ไขยกกระชับหน้าอก ผู้ที่มีภาวะนม แฝดประเภท Congenital
ภาพตัวอย่างแก้ไขหน้าอก ผู้ที่มี ภาวะ นมแฝดประเภท Acquired