หน้าอกเล็กปัญหาระดับชาติ ที่ทำให้หลายคนกำลังกลุ้มใจ แม้ว่าการมีหน้าอกที่เล็กไม่ใช่เรื่องที่น่าอับอาย แต่ก็อยากมีขนาดหน้าอกที่เพิ่มขึ้นเพื่อความมั่นใจในเรื่องของรูปร่าง ดังนั้น หากคุณจะเลือกการศัลยกรรมหน้าอกก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพียงแต่ต้องศึกษาข้อมูล เลือกคลินิกศัลยกรรมผ่าตัดที่มีมาตรฐาน และศัลยแพทย์ที่มากประสบการณ์ มีความชำนาญเฉพาะด้าน
เสริมหน้าอกมีทรง 2 ประเภทได้แก่
- ซิลิโคนศัลยกรรมเสริมหน้าอกทรงหยดน้ำ
o ซิลิโคนศัลยกรรมเสริมหน้าอกทรงหยดน้ำนั้นจะมีลักษณะป่องตรงส่วนล่าง และจะแบนตรงส่วนบน พูดให้เข้าใจง่ายก็คือจะมีลักษณะเหมือนหยดน้ำ ซึ่งซิลิโคนเสริมหน้าอกทรงหยดน้ำจะเหมาะกับผู้หญิงที่มีหน้าอกน้อย เพราะซิลิโคนทรงหยดน้ำจะให้ความรู้ที่เป็นธรรมชาติมากกว่าและดูเนียนกว่าการเสริมด้วยซิลิโคนทรงกลม
- ซิลิโคนศัลยกรรมเสริมหน้าอกทรงกลม
o ซิลิโคนศัลยกรรมเสริมหน้าอกทรงกลมนั้นจะมีลักษณะกลม นอกจากนี้ขอบจะโค้งมนดูเข้ารูป ซึ่งซิลิโคนเจลภายในจะเหลวกว่าทรงหยดน้ำ ส่งผลให้เวลานั่งหรือยืนนั้นซิลิโคนเจลของทรงกลมนั้นจะไหลลงไปด้านล่าง แต่จะกลับคืนตัวในท่านอน ซิลิโคนเสริมหน้าอกทรงกลมเหมาะกับสาวที่มีนมอยู่บ้างแต่ต้องการเติมเต็มให้ได้รูปหรือแก้ไขข้อบกพร่อง เช่น หย่อนคล้อย เป็นต้น
ประเภทผิวของซิลิโคน
- ซิลิโคนเสริมหน้าอกผิวเรียบ
o ซิลิโคนแบบผิวเรียบจะนิ่มกว่าซิลิโคนผิวทราย ดูเป็นธรรมชาติ ดูแลง่าย และราคาถูกกว่า แต่จะมีโอกาสที่เต้านมไหลหลุดจากทรงได้ง่ายกว่าซิลิโคนผิวทรายค่ะถึงแม้จะเกิดไม่บ่อยก็ตาม
- ซิลิโคนเสริมหน้าอกผิวทราย
o มากันที่ซิลิโคนเสริมหน้าอกผิวทรายกันบ้างค่ะ โดยซิลิโคนผิวทรายนี้เวลาใช้ เสริมหน้าอก จะมีความหนืดมากกว่าซิลิโคนผิวเรียบทำให้ตัวซิลิโคนหลุดออกจากทรงได้ยากกว่า แถมรูปทรงยังเปลี่ยนแปลงได้น้อยอีกด้วย
*มีความเชื่อที่เล่าต่อกันมาว่าซิลิโคนเสริมหน้าอกผิวทรายนั้นจะลดอาการพังผืดได้มากกว่า ความจริงก็คือขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ใช้เสริมหน้าอก หากใส่ซิลิโคนเข้าไปใต้กล้ามเนื้อโอกาสการเกิดพังผืดจะไม่ต่างกัน แต่ถ้าเสริมหน้าอกเหนือกล้ามเนื้อซิลิโคนผิวทรายจะช่วยลดการเกิดพังผืดได้มากกว่า ทั้งนี้การเกิดพังผืดหลังศัลยกรรมหน้าอกนั้นการเสริมซิลิโคนใต้กล้ามเนื้อจะมีโอกาสน้อยกว่าการเสริมซิลิโคนเหนือกล้ามเนื้อ
ตำแหน่งการผ่าตัด
- ใต้ราวนม Inframammary incision – การใส่ซิลิโคนเข้าไปทางใต้ราวนมใต้ราวนม (Sub-mammary)
o การใส่ซิลิโคนเข้าทางใต้ราวนมเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีขั้นตอนที่ซับซ้อนน้อยกว่าการผ่าซิลิโคนเข้าทางอื่นของร่างกาย และยังช่วยปกปิดร่องรอยการผ่าตัดได้ดี หลังการผ่าตัดคนไข้มีการฟื้นตัวที่รวดเร็ว
- รอบปานนมบริเวณที่เป็นสีชมพูเข้ม (Areolas)
o ผ่าตัดเข้าทางฐานหัวนมซึ่งสีผิวที่บริเวณดังกล่าวจะช่วยปกปิดร่องรอยการผ่าตัดได้ดีหลักฐานทางการแพทย์ระบุชัดเจนว่า ผิวเนื้อบริเวณหัวนมและที่ฐานหัวนมจะเกิดแผลเป็นได้ยากกว่าบริเวณอื่นของหน้าอกและแผลที่เกิดขึ้นยังหายได้ไว ซึ่งจะต้องดูด้วยว่าแผลที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอย่างไร แต่ในขณะเดียวกันก็มีความเป็นไปได้ในบางกรณีที่แผลเป็นจากการผ่าตัดเสริมหน้าอกเข้าทางฐานของหัวนมจะเห็นได้ชัดเจนซึ่งทั้งนี้คนไข้จะต้องปรึกษาแพทย์อย่างละเอียดก่อนการผ่าตัด
- บริเวณรักแร้ (Armpits)
o การผ่าตัดเสริมหน้าอกโดยช่องทางนี้มีประโยชน์มากในการช่วยปกปิดร่องรอยการผ่าตัดเพราะแผลผ่าตัดอยู่ในจุดที่เห็นได้ยาก ซึ่งรอยพับของรักแร้โดยธรรมชาติจะกลมกลืนไปกับแผลผ่าตัดทำให้สังเกตุเห็นได้ยากแม้บางรายแผลผ่าตัดอาจเห็นได้ชัด ร่องรอยการผ่าตัดนั้นปรากฎเป็นแผลเป็นเห็นได้ชัดเจนแต่ร่องรอยแผลเป็นดังกล่าวเป็นจุดที่ผู้คนไม่ค่อยสนใจอยู่แล้ว การมีแผลเป็นที่จุดดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องใหญ่เกินกว่าที่คนไข้จะรับได้ การผ่าตัดเสริมหน้าอกผ่านทางใต้รักแร้ศัลยแพทย์อาจแนะนำให้คนไข้รับการผ่าตัดด้วยกล้อง Endoscope ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กแต่ก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็นเสมอไป ศัลยแพทย์อาจเลือกการผ่าตัดนี้โดยไม่ใช้กล้อง Endoscope ก็ได้เช่นกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และความชำนาญของแพทย์
- การผ่าตัดเสริมหน้าอกเข้าทางสะดือ (Trans-umbilical Breast Augmentation / TUBA)
o การผ่าตัดเสริมหน้าอก โดยผ่านเข้าทางสะดือ ได้รับการพิสูจน์จากหลายหน่วยงานทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องแล้วว่า เป็นการผ่าตัดที่มีให้ผลลัพธ์ที่ดี และมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามการผ่าตัดแบบนี้ มีความยากอยู่พอสมควร เนื่องจากแพทย์จะต้องผ่าตัด โดยนำถุงน้ำเกลือเข้าทางสะดือ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไกลจากหน้าอกมากกว่าการผ่าตัดเข้าทางใต้ราวนม หรือใต้รักแร้ แพทย์ที่ทำการผ่าตัดโดยใช้วิธีนี้ จึงต้องเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์เป็นอย่างมาก
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการเสริมหน้าอก
- งดการสูบบุหรี่ทั้งก่อนและหลังเข้ารับการผ่าตัด 2 สัปดาห์
- งดแอลกอฮอล์อย่างน้อย 5 วัน ทั้งนี้เพื่อลดอาการติดเชื้อและลดอาการบวม
- งดยาแก้ปวดทุกชนิดทั้งในกลุ่มแอสไพรินและไอบลูโพเฟ่น หรือยาที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด อย่างน้อย 2 อาทิตย์
- งดน้ำและอาหารเป็นเวลา 6 ชั่วโมง อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดเรียบร้อย
- อย่าลืมแจ้งประวัติการแพ้ยาแก่แพทย์
ขั้นตอนการเสริมหน้าอก
- วัดขนาดหน้าอกตอนยังไม่เสริมก่อน
- ทำการคิดคำนวณมารค์จุด ซึ่งแล้วแต่เทคนิคแพทย์แต่ล่ะคน
- ขึ้นเตียงเตรียมทำการผ่าตัดและวางยาสลบ
- ทำความสะอาดบริเวณโดยรอบที่จะทำการผ่าตัด
- แพทย์จะทำการเจาะรูเพื่อใส่ซิลิโคนเข้าไปซึ่งวิธีต่างๆ ส่วนนี้ คุณเป็นคนเลือกว่าจะใส่แบบไหน ทั้งใส่ใต้ราวนม ใต้รักแร้ ผ่านทางสะดือหรือเข้าไปทางหัวนม
- ทำการเย็บปิดแผลเป็นอันเรียบร้อย
การปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัด
- หลังการผ่าตัดเสริมหน้าอก อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เป็นอาการอันเนื่องมาจากฤทธิ์ยาสลบ
- หลังการผ่าตัดเสริมหน้าอก 3-7 วัน จะมีอาการปวดระบมบริเวณรักแร้ หรือหน้าอก อาการปวดระบมจะดีขึ้นหลังเสริมอก 1 สัปดาห์
- สำหรับบางกรณี ผู้เข้ารับการผ่าตัดอาจมีรอยฟกช้ำ ซึ่งไม่เป็นอันตราย รอยฟกช้ำจะหายไปเอง
- 2-3 วันหลังการผ่าตัดเสริมหน้าอก พยายามอย่าขยับหรือเคลื่อนย้ายร่างกายมาก เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนแผล
- ในช่วง 1 สัปดาห์หลังการผ่าตัด ควรเช็ดตัวแทนการอาบน้ำเพื่อเลี่ยงไม่ให้น้ำโดนแผล
- ต้องเริ่มนวดหน้าอก หลังผ่าตัด 2 สัปดาห์ ซึ่งแพทย์จะสอนวิธีการนวดหน้าอกตามความเหมาะสมของแต่ละคน
- เดือนแรกหลังการศัลยกรรมเสริมหน้าอก ไม่ควรสวมใส่ยกทรงแบบมีโครงเหล็กหรือสปอร์ตบรา แต่ควรเป็นซัพพอร์ตบรา
- หลังการศัลยกรรมเสริมหน้าอก ห้ามยกของหนัก และไม่ทำกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังมาก หลังผ่าตัดเสริมหน้าอก 2 เดือน จึงสามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติ
- ควรรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง และมาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
การนวดหน้าอก
สามารถให้ร้านหรือคลินิกนวดให้ได้ แต่สำหรับคนที่ต้องการนวดเอง มีขั้นตอนดังนี้
- ผลักรอบทิศ ซ้าย ขวา บน ล่าง โดยใช้มือทั้งสองดันน้องนมด้านข้างให้ชิดกันมากที่สุด ค้างไว้ 10 วินาที
- จากนั้นก็ดันออกให้ห่างกันมากที่สุด ค้างไว้ 10 วินาที
- ดันน้องนมจากบนลงล่างค้างไว้ 10 วินาที
- สุดท้ายใช้มือบีบที่ฐานของน้องนมแล้วดันขึ้นไปค้างไว้ข้างละ 2 – 5 นาที
ผลข้างเคียง
- ระวังการมีเลือดสะสมบริเวณแผลผ่าตัด จนทำให้แผลเกิดอาการบวมและเจ็บปวด อาการแบบนี้มักเกิดขึ้นหลังการผ่าตัดไม่นาน หรืออาจเกิดได้หากเต้านมได้รับบาดเจ็บ ซึ่งจะต้องได้รับการรักษาด้วยการใส่ท่อระบายเลือด
- ในบางกรณีที่แพทย์มือหนัก อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อเต้านม หรือซิลิโคน จนทำให้เกิดการติดเชื้อ มีอาการอักเสบ ระคายเคือง เจ็บ บวมแดง อาจหนักจนถึงขั้นเป็นไข้ และร่างกายไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ จนในที่สุดอาจต้องเอาซิลิโคนที่เสริมหน้าอกออก
- ผิวบริเวณหน้าอกอาจเปลี่ยนเป็นสีแดงได้ เนื่องจากเกิดการฟกช้ำเพราะมีเลือดออกระหว่างผ่าตัด
- มีความรู้สึกที่บริเวณหัวนม หรือเต้านมลดลง ซึ่งอาการแบบนี้อาจเกิดขึ้นแค่ชั่วคราวหรือตลอดไป ซึ่งอาจส่งผลต่อการตอบสนองทางเพศได้ด้วย
- หากทำการผ่าตัดกับหมอที่ไม่มีความชำนาญ อาจทำให้เต้านมมีขนาด รูปร่าง ที่ผิดแปลก หรืออยู่ในระดับที่ไม่เท่ากัน ซึ่งจะต้องทำการเปิดแผลผ่าตัดออกอีกครั้ง เพื่อเปลี่ยนตำแหน่งของซิลิโคน
- บางรายที่ทำการเสริมหน้าอกมาใหญ่เกินไป ขนาดไม่พอดีกับตัวและเนื้อหน้าอก อาจทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นบางและเหี่ยวย่นลง ในบางรายอาจมองเห็นคลื่นของถุงซิลิโคนได้จากภายนอก
- เกิดผังผืดหุ้มบริเวณรอบๆ ซิลิโคน ทำให้หน้าอกแข็งและรู้สึกแน่นหน้าอก
ปัจจุบันการศัลยกรรมหน้าอกมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง ไม่มีผลต่อเด็กหรือการให้นมบุตร อย่างไรก็ตามการเสริมหน้าอกยังมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ดังนั้นควรศึกษาข้อมูลให้ถี่ถ้วน รอบคอบ ที่สำคัญต้องทำกับสถานพยาบาลหรือคลินิกที่ได้มาตรฐานและคุณหมอที่ได้รับการยอมรับจากสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งเท่านั้น