เตรียมตัวก่อนทำกราม

เตรียมตัวก่อนทำกราม

สำหรับคนที่รักสวยรักงามแต่มีรูปหน้าบาน กรามใหญ่ คงอยากมีใบหน้าเรียวสวยแบบสาวเกาหลี ยิ่งถ้ามีคนมาทักยิ่งทำให้ความมั่นใจในการใช้ชีวิตลดลงอีก แต่ไม่ต้องกังวลเพราะปัจจุบันการศัลยกรรมสามารถแก้ไขจุดต่างๆได้ตามนึกฝันแล้ว ดังนั้น การผ่าตัดเพื่อลดขนาดกรามจึงเป็นคำตอบที่ดีที่สุดของคุณ

กราม Thumnail Inside 2 1 เตรียมตัวก่อนทำกราม

สาเหตุที่รูปหน้าหรือกามใหญ่

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจสาเหตุที่รูปหน้าหรือกรามใหญ่ เกิดจากอะไรได้บ้าง

  • ลักษณะทางพันธุกรรม ถือเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คุณมีกรามที่มีขนาดใหญ่หรือใบหน้าเรียวเล็ก ลักษณะเหล่านี้จะได้รับถ่ายทอดจากพ่อแม่หรือปู่ย่าตายายมา  ซึ่งจะปรากฏบนรูปหน้าอยู่แล้ว
  • การเจริญเติบโตของกระดูก สำหรับบางคนที่มีการเจริญเติบโตของกระดูกในร่างกายที่ดีหรือมากเป็นพิเศษ อาจทำให้กระดูกในส่วนกรามมีขนาดใหญ่ด้วย
  • มีกล้ามเนื้อหรือไขมันที่กราม บางคนอาจมีกล้ามเนื้อหรือไขมันบริเวณส่วนกรามอยู่มาก โดยกล้ามเนื้อที่กรามนั้นอาจเกิดจากการใช้งานกรามอย่างหนัก    เช่น  การเคี้ยวอาหารที่เคี้ยวยากบ่อยๆ  ร่างกายจึงสร้างกล้ามเนื้อขึ้นมาเพื่อรองรับการใช้งานอย่างหนัก  ส่วนไขมันนั้นเกิดจากการรับประทานอาหารมากเกินไป  อาหารส่วนเกินจึงแปรสภาพเป็นไขมันและนำไปเก็บไว้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย  รวมทั้งบริเวณกรามด้วยซึ่งเมื่อรวมกับกรามที่มีขนาดใหญ่ด้วยแล้วจะยิ่งทำให้รูปหน้าใหญ่ไปด้วย
  • อาการอื่นๆ เช่น มีอาการบวมน้ำที่เกิดจากการรับประทานอาหาร  ทำให้หน้าบวมขึ้น  แลดูกรามใหญ่กว่าเดิม

การผ่าตัดลดขนาดกรามมีทั้งหมด 2 วิธีได้แก่

  • การผ่าตัดจากภายนอกช่องปาก คือ การผ่าตัดเปิดแผลจากภายนอกบริเวณใกล้ ๆ กับมุมกราม โดยแพทย์จะทำการผ่าเปิดกระดูกมุมกราม ใช้เลื่อยตัดกระดูกตามแนวที่ต้องการแล้วเอาชิ้นกระดูกที่เกินออกไป ตกแต่งมุมกระดูกให้เรียบร้อย จากนั้นจึงเย็บปิดแผล ซึ่งวิธีนี้อาจทำให้เกิดแผลเป็นที่เห็นชัดได้
  • การผ่าตัดจากภายในช่องปาก คือ การผ่าตัดเปิดแผลในช่องปากตรงบริเวณหลังฟันกรามซี่สุดท้าย และตัดกระดูกมุมกรามออกตามแนวที่ต้องการ พร้อมกับการตกแต่งกระดูกส่วนที่เหลือให้เรียบร้อย แล้วจึงเย็บปิดแผล วิธีนี้จะค่อนข้างยุ่งยากกว่าวิธีแรก แต่ก็เป็นวิธีที่ได้รับความนิยม เพราะไม่มีแผลเป็นให้เห็น

กราม Thumnail Inside 4 1 เตรียมตัวก่อนทำกราม

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัด

  • ก่อนผ่าตัดจะต้องพบแพทย์เพื่อตรวจดูโครงสร้างของกระดูกอย่างละเอียด เช่น ความหนา, ความสูง, ความสมดุลของกระดูกกรามทั้งสองข้าง เพื่อแพทย์จะได้ประเมินว่า ควรตัดแต่งลดเหลี่ยมมุมของกระดูกมากน้อยแค่ไหนจึงจะเหมาะสมรับกับใบหน้า จะตัดแต่งอย่างไรไม่ให้ไปกระทบต่อรากฟันและความแข็งแรงของกระดูกกราม หลังตัดกรามไปแล้วกระดูกกรามจะยังคงมีความแข็งแรงเหมือนเดิม เพราะแพทย์จะผ่าตัดกระดูกกรามออกไปเพียงบางส่วนเท่านั้น
  • ก่อนผ่าตัดแพทย์จะทำการตรวจสภาพร่างกายอย่างละเอียด แจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับประวัติสุขภาพ โรคประจำตัว การแพ้ยา ยาที่รับประทานเป็นประจำ เป็นต้น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ และเตรียมสภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีไข้ หรืออาการอักเสบใดๆ โดยเฉพาะช่องปาก และระบบทางเดินหายใจ
  • งดวิตามินที่มีส่วนผสมของน้ำมันประมาณ 1-2 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด
  • งดสูบบุหรี่หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด
  • งดอาหารและน้ำ 6-8 ชม.ก่อนการผ่าตัด เนื่องจากการผ่าตัดจะต้องทำโดยการดมยาสลบ

การผ่าตัด

การผ่าตัดส่วนใหญ่มักทำการผ่าตัดภายในปาก โดยแพทย์จะผ่าตัดกระดูกขากรรไกรแล้วจัดตำแหน่งให้ถูกต้อง เมื่อจัดตำแหน่งดีแล้ว แพทย์จึงยึดกระดูกให้อยู่ที่ตำแหน่งใหม่ด้วยน็อตและแผ่นดามกระดูก

  • การตัดกรามส่วนบน เป็นการแก้ไขขากรรไกรส่วนบนที่ถอยร่นไปด้านหลัง การสบฟันแบบไขว้ ปัญหาการยิ้มแล้วเห็นฟันมากเกินหรือน้อยเกินไป รวมถึงปัญหาฟันสบเปิดที่มีช่องว่างระหว่างฟันหน้าเมื่อกัดฟัน โดยศัลยแพทย์จะตัดกระดูกบริเวณเหนือฟัน เพื่อให้ขากรรไกรส่วนบนทั้งหมด รวมถึงเพดานปากและฟันบนเคลื่อนมารวมกัน และย้ายตำแหน่งขากรรไกรและฟันบนจนกว่าจะพอดีกับฟันล่าง เมื่อจัดตำแหน่งเรียบร้อยแล้วจึงยึดด้วยแผ่นดามกระดูกและน็อต
  • การตัดกรามส่วนล่าง ขากรรไกรส่วนล่างที่ร่นเข้าไปสามารถปรับแก้ด้วยการเจาะกระดูกขากรรไกรล่าง โดยศัลยแพทย์จะผ่าตัดที่บริเวณหลังฟันกรามและตามแนวยาวของกระดูกขากรรไกร เพื่อให้ขากรรไกรส่วนหน้าเคลื่อนมารวมตัวกัน เมื่อขากรรไกรเคลื่อนตัวไปสู่ตำแหน่งใหม่ดีแล้วจึงยึดด้วยน็อตไว้จนแผลหายดี
  • การศัลยกรรมคาง คนไข้ในรายที่มีกรามล่างถอยร่นเข้าไปรุนแรงมักทำให้มีคางเล็กไปโดยปริยาย การแก้ไขสามารถใช้การศัลยกรรมคาง โดยศัลยแพทย์ทำการตัดกระดูกคางแล้วยึดไปสู่ตำแหน่งใหม่ โดยทั่วไปศัลยแพทย์อาจปรับเปลี่ยนขากรรไกรและปรับโครงสร้างของคางร่วมด้วย

การดูแลตัวเองหลังตัดกราม

  • ในช่วง 2 -3 วันแรกให้ประคบเย็นเพื่อลดอาการบวม จากนั้นประคบต่อด้วยน้ำอุ่นประมาณ 7-14 วัน
  • ในช่วง 3 – 4 วัน อาจมีอาการปวดบริเวณแผลผ่าตัดในปาก รวมถึงบริเวณกระดูกที่ทำการผ่าตัด บางรายอาจมีอาการหูอื้อร่วมด้วย เนื่องจากแรงสั่นสะเทือนระหว่างการเหลา หรือตัดกระดูกกราม แต่จะเป็นอยู่ชั่วคราว  และหายได้เองในช่วง 7 – 14 วัน
  • รับประทานอาหารอ่อน งดอาหารแข็งหรืออาหารที่ต้องใช้แรงบดเคี้ยว อาหารรสจัด ของหมักดอง หรือแอลกอฮอล์ ในช่วง 1 เดือนแรก
  • งดสูบบุหรี่ ในช่วง 1 เดือนหลังการผ่าตัด เพราะอาจทำให้แผลหายช้า
  • รักษาความสะอาดของช่องปากด้วยการแปรงฟัน โดยใช้แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม เพื่อขจัดเศษอาหารตกค้างซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบได้ และบ้วนปากด้วยน้ำยาล้างปากบ่อยๆหลังการรับประทานอาหาร
  • ขยับอ้าปากบ่อยๆหรือทุกครั้งที่นึกได้เพื่อขยับข้อต่อขากรรไกรไม่ให้ติดหรือฝืด ในช่วงแรกที่มีอาการบวมอาจจะยังอ้าปากไม่ได้มาก ถือเป็นเรื่องปกติ เมื่ออาการบวม ทุเลาลงก็จะอ้าปากได้มากขึ้นตามลำดับ
  • หลังผ่าตัดอาจมีอาการเขียวช้ำเกิดขึ้นได้เป็นเรื่องปกติ ให้ประคบด้วยน้ำอุ่นบริเวณรอยเขียวช้ำ ประมาณ 2 สัปดาห์ รอยเขียวช้ำก็จะจางหายไป

ภาวะแทรกซ้อน

  • การเสียเลือดเป็นจำนวนมาก เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการผ่าตัด
  • การติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด
  • ภาวะเลือดออกมากกว่าปกติหลังผ่าตัด
  • เส้นประสาทได้รับความเสียหาย อาจส่งผลให้รู้สึกชาชั่วระยะหนึ่งแล้วค่อยๆดีขึ้นเป็นลำดับ หรือเป็นอาการชาอย่างยาวนาน
  • เกิดการคืนตัวของกระดูก ฟันกลับไปสบผิดปกติเหมือนเดิม
  • เกิดความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร
  • อาการอาเจียนจากผลข้างเคียงของยาสลบ สามารถรักษาและบรรเทาด้วยการฉีดยาตามอาการ
  • ผลข้างเคียงด้านจิตใจอย่างภาวะซึมเศร้าที่มักเกิดขึ้นฉับพลันหลังการผ่าตัด มักรู้สึกดีขึ้นภายในไม่กี่วัน

หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้คุณมีความรู้เกี่ยวกับการทำศัลยกรรมตัดกรามเพิ่มมากขึ้น แต่หากคิดจะทำจริงๆควรเลือกปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวาญและคลินิกหรือสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐานเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง